เทคนิคการทำ Call Monitoring ให้มีประสิทธิภาพ
Call Monitoring คือ การวัดคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่รับสาย ( Agent) โดยเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ (Quality Assurance) หรือ หัวหน้างาน (Supervisor) ซึ่งการทำ Call Monitoring นิยมตรวจสอบแบบ Silent Monitoring (Agent และ ลูกค้าไม่ทราบว่าถูกฟังสาย) โดยผลที่ได้จากการตรวจสอบสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพในการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นไป
เทคนิคการทำ Call Monitoring มีดังนี้
|
1. กำหนดหลักเกณฑ์ (Criteria) ในการประเมินผลการให้บริการ
โดยหัวข้อในการตรวจสอบจะต้องมีความสัมพันธ์ และสามารถเปรียบเทียบได้กับมาตรฐานบริการที่กำหนดไว้ ได้แก่
1.1 การเปิดสนทนา การเริ่มต้นบทสนทนาของ Agent (Greeting)
1.2 การสอบถามข้อมูลของลูกค้าเบื้องต้น เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ หมายเลขหรือรหัสลูกค้า
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการให้บริการข้อมูล ความสามารถในการจับประเด็นความต้องการของลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บริการข้อมูลได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
1.4 การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
1.5 มารยาทในการใช้โทรศัพท์และระหว่างการสนทนา
1.6 การปิดสนทนา การใช้บทสนทนาเพื่อสรุปความต้องการของลูกค้าทั้งหมด และกล่าวลา
|
2. กำหนดแบบฟอร์ม (Quality Monitoring Form) เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพการบริการ โดยแบบฟอร์มนี้สามารถกำหนดจากเกณฑ์ที่ได้กำหนดในหัวข้อ 1 โดยนำมาจัดลำดับ และกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักในแต่ละหัวข้อตามความสำคัญของลักษณะการให้บริการ
3 กำหนดมาตรฐานในการให้บริการ (Standard Service) โดยสามารถกำหนดระดับการให้คะแนน เช่น อยู่ในมาตรฐาน สูงกว่ามาตรฐาน และต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นต้น รูปแบบการให้คะแนนขึ้นอยู่กับลักษณะการบริการในแต่ละประเภทธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
อาจกำหนดเป็น 5 ระดับ
- 5 = Excellent ดีเยี่ยม
- 4 = Good ดี
- 3 = Standard มาตรฐาน
- 2 = Need Improvement ควรปรับปรุง
- 1 = Poor แย่
หรือ กำหนดเป็น 4 ระดับ
- 3 = Excellent ดีเยี่ยม
- 2 = Standard มาตรฐาน
- 1 = Need Improvement ควรปรับปรุง
- 0 = Poor แย่
หรือ กำหนดเป็น 3 ระดับ
- 2 = Excellent ดีเยี่ยม
- 1 = Standard มาตรฐาน
- 0 = Need Improvement ควรปรับปรุง
4. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพ หลังจากมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพแล้ว ผู้ตรวจสอบจะจัดทำรายงานส่งไปยังหัวหน้างาน (Supervisor) และ แจ้งให้ Agent รับทราบ รายงานประกอบด้วย วิธีการวัดผลในแต่ละหัวข้อ คะแนนที่ถูกประเมิน โดยสรุปผลเป็นช่วงระยะเวลา พร้อมกำหนดแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน เพื่อที่จะให้ Supervisor และ Agent ได้ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการต่อไป ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบและหัวหน้างาน ควรปรับทัศนคติให้เจ้าหน้าที่ Agent เข้าใจว่าการทำ Call Monitoring ไม่ใช่การจับผิด แต่ช่วยในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. มีการทำ Call Calibration สำหรับผู้ที่ให้คะแนน Call Monitoring โดยทั่วไปมักจะเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ และ หัวหน้างาน (Supervisor) การทำ Call Calibration ควรจะทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพการบริการจะได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้นทำให้ Agent แน่ใจได้ว่าคะแนนที่ถูกประเมินเป็นไปเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ว่าเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ใดเป็นคนตรวจสอบ
6. มีการตรวจสอบการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5-10 สาย ต่อ เจ้าหน้าที่ ต่อ เดือน ซึ่งการ
ตรวจสอบควรจะมีการวางแผนล่วงหน้า และ สำหรับ Agent คนเดียวกัน ก็ไม่ควรฟังสายในคำถามเดียวกัน
หากองค์กรของคุณได้มีการตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่รับสาย (Agent) ของคุณก็จะมีความกระตือรือร้น และจะเพิ่มระมัดระวัง ในการทำงาน ลูกค้าของคุณก็จะได้รับการบริการที่ดีทุกครั้งที่ติดต่อมายัง Call Center ของคุณ
บทความโดย: คุณกฤติยา เลาหกุล และคุณกฤตาภร ณ นคร
22 พ.ย. 2555
|