เทคนิคการขอโทษลูกค้าอย่างมืออาชีพ article

เทคนิคการขอโทษลูกค้าอย่างมืออาชีพ
How to Apologize to a Customer

สถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับงานบริการคือการให้บริการลูกค้าที่ไม่พึงพอใจ ลูกค้าแต่ละคนอาจจะแสดงความไม่พอใจแตกต่างกันและแน่นอนว่าลูกค้าต้องการให้เจ้าหน้าที่บริการแสดงความรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาที่ได้เกิดขึ้น  การขอโทษลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสามารถทำได้ในทุกขั้นตอนของการให้บริการ ประกอบด้วย

- กล่าวชื่อของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ
โดยส่วนใหญ่การกล่าวเปิดบทสนทนาเจ้าหน้าที่จะแนะนำชื่อของตนเองเพื่อเป็นการทำความรู้จักกับลูกค้า และในกรณีที่ต้องมีการรับเรื่องเพื่อดำเนินการหรือประสานงาน การแจ้งชื่อลูกค้าอีกครั้งเป็นเสมือนการส่งสัญญาณให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจว่ามีผู้ที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า เมื่อได้สร้างความสัมพันธ์นี้แล้วการกล่าวขอโทษลูกค้าสามารถทำได้อย่างส่วนตัวมากขึ้น

- รับฟัง
ลูกค้าที่อยู่ในอารมณ์โกรธและหงุดหงิดส่วนใหญ่จะอยากระบายความรู้สึกไม่พอใจนั้นให้ผู้ให้บริการรับฟัง ดังนั้นการรับฟังอย่างเข้าใจและการถามคำถามที่เหมาะสมของผู้ให้บริการจะทำให้สามารถยืนยันปัญหาของลูกค้าเพื่อนำไปสู่การกล่าวคำขอโทษลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

- กล่าวขอโทษลูกค้าด้วยความเข้าใจ
เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าใจปัญหาของลูกค้าแล้ว การใช้คำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจและคำพูดขอโทษจะแสดงถึงความใส่ใจต่อปัญหาของลูกค้าแบบส่วนตัว  
ตัวอย่างคำพูดแสดงความเข้าและขอโทษลูกค้า อาทิ
o ดิฉัน/ผม เข้าใจค่ะ/ครับ ว่า (ปัญหา) ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อ (….) ของคุณ (ชื่อลูกค้า) 
o ดิฉัน/ผม ขออภัย (ที่เกิดความล่าช้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้)
การขอโทษด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่อ่อนน้อม ลูกค้ารับรู้ได้ถึงจริงใจของเจ้าหน้าที่ที่กำลังให้บริการอยู่

- นำเสนอการแก้ไขปัญหาที่จะทำได้สำเร็จโดยเร็ว
เนื่องจากการพูดขอโทษเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้  สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญที่เกิดขึ้น หลังจากกล่าวคำขอโทษลูกค้าแล้ว ให้แจ้งแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนและระบุด้วยว่าปัญหาจะแก้ไขสำเร็จเมื่อไหร่ หรือจะมีการติดต่อกลับไปหาลูกค้าเมื่อไหร่  

- สรุปบทสนทนาและขอบคุณลูกค้า
ก่อนจบสนทนาควรกล่าวขอโทษลูกค้าอีกครั้ง สรุปขั้นตอนการดำเนินการต่อไปและกล่าวขอบคุณลูกค้า
ตัวอย่างคำพูดเพื่อสรุปบทสนทนา อาทิ
o ดิฉัน/ผม ขออภัย (ที่ลูกค้าต้องเสียเวลาติดต่อมายังบริษัท หรือ ที่เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา) อีกครั้งค่ะ/ครับ หลังจากวางสาย ดิฉัน/ผม จะ(แจ้งสรุปขั้นตอนดำเนินการต่อไป) และ จะติดต่อกลับภายใน …..
o ดิฉัน/ผม ขออภัยอีกครั้งที่เกิดเหตุการณ์นี้กับคุณ (ชื่อลูกค้า) และขอขอบคุณที่แจ้งให้เราทราบและให้โอกาสดิฉัน/ผมในการแก้ไขปัญหานี้ค่ะ/ครับ
 
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังในการขอโทษลูกค้าคือการไม่รับฟังการแสดงออกของลูกค้าอย่างเต็มใจ พยายามรวบรัดตัดบทสนทนาหลังพูดขอโทษ หรือพูดขอโทษซ้ำๆ แต่ไม่แจ้งแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า
 
บทความโดย

คุณกฤตาภร ณ นคร
11 ตุลาคม 2566
 
อ้างอิงจาก : https://www.callcentrehelper.com/apology-statements-customer-service-134174.htm
 
 



Skills Development

10 ข้อควรรู้สำหรับนักขายสินค้าทางโทรศัพท์มืออาชีพ article
พัฒนาหัวหน้าทีมบริการลูกค้า (Team Leader)อย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ article
10 ข้อผิดพลาดที่มักพบในงานบริการลูกค้า article
ลดข้อร้องเรียนด้วยการทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้อย่างไร article
การบริการเชิงรุกเพื่อสร้างความเป็นเลิศด้วยหลัก Proactive article
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเขียนอีเมลอย่างมืออาชีพ article
5 วิธีแสดงความเข้าใจและเอาใจใส่ลูกค้า article
บริหารความคาดหวังของลูกค้าเมื่อใช้บริการได้อย่างไร article
20 คำถามใช้บ่อยในการแก้ไขปัญหาทางโทรศัพท์ article
10 ข้อควรรู้ สำหรับการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า article
3 เทคนิค ช่วยให้ดำเนินการเรื่องที่ตกลงกับลูกค้าไว้อย่างมืออาชีพ article
8 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า article
เคล็ดลับการเป็น Admin Page ที่มีประสิทธิภาพ article
24 คำพูดเชิงบวกเพื่อให้บริการลูกค้าชาวต่างชาติอย่างมืออาชีพ article
10 ข้อ ไม่ควรทำ เมื่อรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า article
10 ข้อ ควรรู้เกี่ยวกับการให้บริการผ่านแชท article
เทคนิคการใช้คำถามสำหรับนักขายทางโทรศัพท์ article
จัดอบรมเจ้าหน้าที่ Call Center อย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ article
Telesales อย่างไร ให้ลูกค้ายอมคุยด้วย article
ทักษะงาน Call Center หลังยุค COVID-19 article
5 เทคนิคการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างมืออาชีพ article
การสื่อสารเมื่อเจอข้อโต้แย้งของลูกค้า สำหรับนักขายทางโทรศัพท์ article
5 วิธีการสื่อสารเชิงบวกเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า article
เทคนิคการจับประเด็นความต้องการของลูกค้า article
คุณสมบัติที่ควรมีสำหรับคนทำงาน Call Center article
5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริการ (QA) มืออาชีพ article
เทคนิคพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับ Competency ขององค์กร article
Competency เกี่ยวข้องกับการทำงานบริการอย่างไร article
เทคนิคการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ฟังเชิงรุก article
5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้าทีมบริการลูกค้ามืออาชีพ article
วิธีเพิ่มความมั่นใจให้กับนักขายทางโทรศัพท์ article
บริการอย่างไรให้มีความสุข article
การ Handle อารมณ์ของตัวเราเอง article
โค้ชอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ article
การโค้ชมีประโยชน์อย่างไร article
5 เคล็ดลับการให้บริการลูกค้าแบบเผชิญหน้า article
เป็น Call Center ต้องพูดอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจและประทับใจ article
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ article
พูดอย่างไร ถึงจะสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า article
10 วิธีในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า article
การสร้างความประทับใจจากข้อร้องเรียนของลูกค้า article
ใช้บทสนทนามาตรฐาน (Script) อย่างไรให้เหมาะสม article
5 ขั้นตอนสำหรับนักขายเมื่อโทรหาลูกค้า article
ฝึกฝนเจ้าหน้าที่ขายสินค้าทางโทรศัพท์ให้เป็นมืออาชีพ article
เทคนิค 7 ข้อในการพัฒนาทักษะการพูดของผู้ให้บริการ article
Call monitoring ช่วยพัฒนาทีมขาย (Telesales Team) ของคุณได้อย่างไร article
เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับผู้เข้าอบรมด้านการบริการ article
เทคนิคในการพัฒนาคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่ Call Center article
ทักษะที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ Call Center article
การขายสินค้าทางโทรศัพท์อย่างมืออาชีพ article
8 วิธีที่จะเปลี่ยนลูกค้าร้องเรียนให้พึงพอใจ article
การอบรมเจ้าหน้าที่ Call Center มือใหม่ ควรจะเริ่มต้นอย่างไร article
เทคนิคในการเลือกใช้คำพูดเมื่อต้องให้บริการลูกค้าเจ้าปัญหา article
ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ Call Center article
เทคนิค 10 ข้อ ในการพัฒนาทักษะการฟังทางโทรศัพท์ article
เทคนิค 5 ข้อ ที่นักขายทางโทรศัพท์ (Telesales) ควรรู้ article
คำพูดเชิงบวกที่คุณต้องใช้ในงานบริการ และ การขายสินค้าทางโทรศัพท์ article
10 วิธีจัดการลูกค้าร้องเรียนให้ได้ผล article
เทคนิคเพิ่มยอดขายสินค้าทางโทรศัพท์ article
อบรมเจ้าหน้าที่ Call Center อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ article
เทคนิค 8 ข้อสำหรับ Call Center Trainer มือใหม่ article