สื่อสารผิดเพราะความคิด สื่อสารผิดเพราะความคิด ปัญหาของการสื่อสารส่วนมากมาจากทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เวลาที่เราทำงานด้วยกัน คนมีอารมณ์ ใช้อารมณ์ในการพูด ในการตัดสินใจ ทำให้เกิดปัญหาการสื่อสาร คนส่วนมากมักจะบอกว่า “เนี่ยสื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่อง” “ฉันมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร” “น้องคนนี้สื่อสารไม่รู้เรื่อง” “พี่คนนั้นสื่อสารไม่ถูกต้อง สื่อสารไม่รู้เรื่อง” ต้นตอของปัญหาจริงๆแล้ว ไม่ใช่สื่อสารไม่ได้ แต่มันมาจากการเริ่มต้นของการสื่อสารนั้น กับทัศนคติที่พูดออกมา คนส่วนใหญ่จะไม่ได้เตรียมทัศนคติไว้ คำพูดมีความสำคัญแค่ 7% แล้วอีก 93% คือสิ่งที่ไม่ได้พูด แต่มันคือภาษากาย (Non verbal Communication) อีก 93% ที่ไม่ได้พูด จึงมาจากทัศนคติที่แต่ละคนมี เพราะฉะนั้นบางครั้ง เราพูดว่า “เรายินดีให้ความร่วมมือนะ” แต่ถ้าทัศนคติเราไม่ได้ไปทางเดียวกัน จะดูออกว่าย้อนแย้ง คนที่ฟังไม่ได้เชื่อคำพูด แต่จะเชื่อทัศนคติ เชื่อภาษากาย ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องการสื่อสาร หลักๆกลับไปดูที่ทัศนคติ การที่เราจะพูดเรื่องนี้ เราจะต้องมีทัศนตติอย่างไร เช่น การที่เราจะไปขอความร่วมมือจากผู้อื่น เราต้องมีทัศนคติแบบไหน เราจะไม่สามารถมีทัศนคติแบบชี้นิ้วสั่งได้ ตั้งต้นที่ทัศนคติก่อนที่เราจะไปหาใคร ถามตัวเราเองก่อน วันนี้เราอยากได้อะไร แล้วไปเริ่มเปิดทัศนคติตัวเราใหม่ว่า ถ้าเราต้องการผลลัพธ์แบบนี้ ต้องมีทัศคติอย่างไร และสื่อสารออกไปอย่างไร โอกาสที่เราจะสื่อสารผิดพลาดเพราะความคิดจะลดน้อยลงหรือแทบไม่เกิดขึ้น
6 อุปสรรคของการสื่อสารในองค์กรที่มักทำให้งานผิดพลาด
เวลาที่เราทำงานสาเหตุความผิดพลาดเรื่องนึงมักมาจากการสื่อสารกัน ปัญหาเรื่องการสื่อสารในที่ทำงานส่วนใหญ่ 1. หัวหน้ากับลูกน้องไม่คุยกัน ต่างฝ่ายต่างเงียบๆกันไป ลูกน้องเองก็ไม่คิดจะถามอะไรหัวหน้าเลย ต่างคนต่างก็เลยเงียบ เรื่องราวหรือปัญหาต่างๆก็ต้องอาศัยฝ่ายอื่นมาบอก บางครั้งก็ถูกบ้างผิดบ้าง
2. หัวหน้าคิดไปเองว่าลูกน้องรู้แล้ว สิ่งที่หัวหน้ารู้ลูกน้องก็ต้องรู้ เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ สุดท้ายลูกน้องก็ไม่รู้ แล้วหัวหน้าก็ไม่พอใจว่าทำไมไม่รู้ ก็ไม่เคยบอกลูกน้อง ปล่อยให้ลูกน้องไปรู้เอง ฝั่งลูกน้องก็จะคิดว่าหัวหน้าไม่เคยบอกอะไรเลย จะให้รู้ได้ยังไง 3. ลูกน้องคิดว่าหัวหน้าน่าจะรู้เองได้นะ เพราะเป็นหัวหน้าก็ต้องรู้เรื่องราวลูกน้อง ทำไมต้องบอกด้วย แค่นี้ไม่รู้ไง หัวหน้าก็คือคนคนนึง ถ้าไม่มีใครมาบอกอะไรก็ไม่มีทางรู้ อยากให้หัวหน้ารู้อะไร ต้องแจ้งให้ทราบ 4. ช่องว่างระหว่างวัย โดยเฉพาะในองค์กรที่มีผู้บริหารเติบโตมาจากยุคสมัยนึง แล้วต้องการให้ผู้น้อยเข้าหาแบบสุภาพ พูดจาดี มีสัมมาคาราวะ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นทางการหมด แต่เด็กสมัยใหม่ต้องการความรวดเร็ว กระชับ ไม่มีเวลามานั่งคิดหาคำพูด บางครั้งก็จะมีศัพท์วัยรุ่น หรือ ตัวย่อออกมาโดยไม่รู้ตัว อุปสรรคนี้แก้ได้ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน 5. เรื่องดีไม่พูด พูดแต่เรื่องไม่ดี เรื่องดีในองค์กรมักไม่ค่อยมีใครสนใจบอกต่อกัน เช่น ใครที่มีผลงานดี มีความสามารถ แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่ดี โดยเฉพาะข่าวลือของคนอื่น ยิ่งรีบจับเข่าตั้งวงคุยกัน พูดกันสนุกปากมากทั้งที่เรื่องอาจจะไม่มีความจริงเลยก็ได้ 6. สื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีมากเกินไป แชทกันทั้งๆที่นั่งอยู่ข้างๆกัน แทนที่จะหันหน้ามาคุยกันให้รู้เรื่อง บางคนแทบจะไม่เคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันเลยทั้งๆที่นั่งทำงานใกล้ๆกัน ซึ่งอาจจะทำให้การสื่อสารไม่ประสบความสำเร็จ และปัญหาขององค์กรก็บานปลาย อุปสรรคของการสื่อสารเหล่านี้เป็นแค่บางส่วนเท่านั้น หน่วยงานองค์กรไหนมี ให้รีบจัดการอย่างเร่งด่วนไม่งั้นเรื่องเล็กน้อยอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้
บทความโดย
คุณสลักจิต การะเกตุ
1 พฤศจิกายน 2566 |