ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการโทรออก (Telemarketing and Telesales Performance Indicators) ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการโทรออก (Telemarketing and Telesales Performance Indicators) การทำงานของหน่วยงาน Call Center ที่มีหน้าที่ในการโทรออก (Outbound) ไปยังลูกค้านั้น มักจะถูกวัดประสิทธิภาพหรือความสำเร็จของงานเป็นลักษณะของโปรเจก (Project) เนื่องจาก การโทรออกนั้นจะกำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เช่น การโทรเพื่อขายสินค้า (Telesales) การโทรเพื่อสอบถามข้อมูล (Tele Survey) หรือ การโทรเพื่อนัดหมาย (Appointment) เป็นต้น และมีการกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของแต่ละโปรเจก ทั้งนี้ การโทรหาลูกค้าในแต่ละวัตถุประสงค์ก็มีตัววัดที่เหมือน และแตกต่างกัน โดยการวัดประสิทธิภาพของการโทรออกมักจะวัดจากผลของความพยายามในการติดต่อลูกค้า และ ผลที่ได้รับตามวัตถุประสงค์ของการโทร
ดัชนีที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของการโทรออก ได้แก่
โดยส่วนใหญ่ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการพยายามติดต่อกับลูกค้า คือคุณภาพของข้อมูลลูกค้าที่ใช้ในการติดต่อ (Database Quality) และ ความพยายามในการโทรซ้ำของเจ้าหน้าที่โทรออก (Telemaketer) โดยส่วนใหญ่จะมีการโทรซ้ำประมาณ 2 ครั้ง ต่อ รายชื่อ การกำหนดตัวชี้วัด (หรือ KPI) เกี่ยวกับการพยายามในการติดต่อให้กับเจ้าหน้าที่นั้น ต้องระวังไม่ให้สูงจนเกินไปจนเกิดการทำงานเชิงปริมาณ (จำนวนการโทรออกสูง) เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ใช้ข้อมูลลูกค้า (Customer Database) อย่างไม่ประโยชน์
สำหรับทีมขายสินค้าทางโทรศัพท์ (Telesales) การประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่มักจะดูจากยอดขายเป็นหลักซึ่งจะอาจจะมีการกำหนดเป็น จำนวนการสั่งซื้อ (Number of Order) หรือ ยอดขายเป็นจำนวนเงิน (Sales Volume) แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจ
นอกจากนั้น การสุ่มตรวจสอบคุณภาพการทำงานโดยวิธี Call Monitoring ก็ยังมีความสำคัญในการวัดคุณภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่มีทักษะในการสนทนา การขายสินค้า หรือ การโน้มน้าว เป็นต้น ทั้งนี้ แม้การติดต่อในครั้งนั้นๆ จะไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หลัก เจ้าหน้าที่ (Telemarketer) ควรตระหนักถึงความเป็นมืออาชีพที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจในการติดต่อ และเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
บทความโดย : คุณกฤตาภร ณ นคร
27 สิงหาคม 2556
|
Call Center Master Article